Out in Africa
Out in Africa(อาทิตย์ ประสาทกุล, 2558, สำนักพิมพ์แซลมอน)
[8/2015]
นอกจากหนังแล้ว ก็ไม่เคยสนใจจะหาช่องทางอื่นเพื่อทำความรู้จักกับแอฟริกาเลย เราคือกลุ่มเป้าหมายคนอ่านของหนังสือเล่มนี้แหละ คือเป็นพวกเข้าใจไม่ถูก เห็นภาพแอฟริกาที่แห้งแล้ว น่ากลัว เต็มไปด้วยชนพื้นเมืองทำพิธีอะไรแปลกๆ ตลอดเวลา
พี่กิ๊ก (หรือคุณอาทิตย์ หรือท่านทูต-สมญาที่สาวแซลมอนใช้เรียกผู้เขียน) จึงเขียนบันทึกเล่มนี้ขึ้นมา เพื่อปรับความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ ให้มองแอฟริกา เป็นอีกที่หนึ่งของโลกที่ยังคงมีพลวัต มีความเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา ไม่ได้เป็นภาพนิ่งเก่าแก่เหมือนที่เรามักจะนึกถึงทวีปนี้
การ เขียนบันทึก ถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของนักการทูต ที่จะต้องเล่าเรื่องเมืองที่ตัวเองได้ไปรับราชการมา เพื่อถ่ายทอดให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ในหนังสือพี่กิ๊กเขียนเอาไว้อย่างอย่างนี้ ซึ่งเราว่าหนังสือมันทำหน้าที่นั้นสมบูรณ์ไปแล้วนะ
หนึ่ง คือเราได้รู้จักแอฟริกามากขึ้น โดยเฉพาะที่ไนโรบี ประเทศเคนยา ประเทศที่เรามักได้ยินว่าเขาได้เหรียญทองโอลิมปิกวิ่งมาราธอน แต่เคนยาในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นประเทศหนึ่ง ที่เขาก็มีชีวิตเหมือนเรา มีความเจริญเกินที่เราคาดไว้ มีป่าซาฟารีอย่างที่เราเห็นในโปสเตอร์ รู้สึกเหมือนได้ไปท่องเที่ยวกับพี่เขาด้วย ซึ่งก็ดีมาก เพราะเอาจริงก็คงไม่ได้อยากไปเที่ยวที่นั่นเท่าไหร่ (คืออยากเที่ยวเมืองนะ แต่ไม่อยากเที่ยวดูสิงโต 555)
สอง คือเราได้รู้จักชีวิตนักการทูต เรามักจะแพ้ให้นิยาย หรือละคร ที่พระเอกรับบทนักการทูต รู้สึกว่ามันช่างเท่ อย่างตอนคุณชายปวรรุจนี่ดิฉันแพ้ราบคาบ อ่านนิยายจบ ดูละครจบ ยังต้องหาอ่านเกี่ยวกับวิถีชีวิตทูตต่อ ว่าอาชีพนี้มันเป็นอย่างไร ลำดับตำแหน่งในกระทรวงเป็นอย่างไร คือหมกมุ่นกับการหาข้อมูลตรงนี้อยู่นานเลยแหละ (ทั้งนี้ก็เพื่อเอาไปจิ้นชีวิตคุณชายกับท่านหญิงแต้วต่อ บ้ามั้ยล่ะ 555)
แต่ไอ้ที่หาข้อมูลมาทั้งหมด กระจ่างใจมลก็ตอนอ่านหนังสือพี่กิ๊กนี่เอง ว่านักการทูตเขาไม่ได้มีไว้พาแขก VIP เที่ยวอย่างเดียวนะโว้ย ยังมีงานอื่นที่ต้องทำ เที่ยวก็ต้องเที่ยว วีซ่าก็ต้องเซ็นอนุมัติ อาคารสถานทูตก็ต้องซ่อม ทำไมอาชีพนี้มันจับฉ่ายจังวะ
แต่พอถึงคราวต้องเท่ ต้องเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ พวกท่านทูตแกก็ใส่สูทฟ้อหล่อเฟี้ยว ออกมาเช็คแฮนด์ สปีคอิงแลนด์เป็นไฟ แก้ปัญหาความขัดแย้งระดับชาติให้ลุล่วง (อืม มุมนี้ค่อยหล่อหน่อย)
จึงเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่งที่ได้อ่าน ด้วยน้ำเสียงของผู้เขียนยิ่งทำให้รู้สึกว่าเขาเฝ้ามองแอฟริกาด้วยลายตาอ่อน ละมุนเหลือเกิน เขียนด้วยความสุภาพ และให้เกียรติผู้คนและสถานที่ที่นั่น (ถ้าเป็นเราเขียนเหรอ...) บวกกับที่ตัวเองได้เจอและพูดคุยกับพี่กิ๊กแกครั้งหนึ่ง น้ำเสียงนุ่มๆ สุภาพๆ แต่กะตือรือร้นที่จะเล่าเรื่องนั้นชัดเจนมากตอนอ่าน ตัวหนังสือกับตัวพี่เขาเหมือนกันจริงๆ
ปล. ตอนแลกหนังสือกับพี่กิ๊ก แกจะเซ็นให้โดยเลือกภาษิตภาษาสวาฮิลี เขียนให้แต่ละคนไม่ซ้ำกัน ของเราได้ "ทามู ยามัว คิฟุนโด อ้อยหวานที่สุดที่ข้ออ้อย ซึ่งแข็งที่สุด" แล้วพี่กิ๊กก็บอกเราว่า "ผมชอบกินอ้อยนะ และผมว่าภาษิตนี้เหมาะกับน้องนิดนกมากเลย" ... อืม พี่เค้าชอบเนาะ ใช่ป่ะวะ 55555
0 comments: